การเรียนการสอน : ระดับก่อนประถมศึกษา
โครงสร้างหลักสูตรระดับปฐมวัย
โครงสร้างหลักสูตรระดับปฐมวัย การจัดการเรียนการสอน โรงเรียนเข้าร่วมโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Excellent Schools Program) ของสถาบันวิจัยการเรียนรู้ ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็กที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดยครอบคลุม 4 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็กธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กพร้อมทั้งสอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึประสงค์ 12 ข้อ โดยยึดหลักการจัดกิจกรรม 6 หลัก ที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติจริง ใช้หลักความสมดุลในการเรียนรู้ของสมองทั้ง 2 ซีก (Brain – Based Learning) คำนึงถึงความแตกต่างในการเรียนรู้ และส่งเสริมความสามรถของเด็กแต่ละคนตามหลักทฤษฎีและพหุปัญญา(Multiple Intelligence) และเน้นการส่งเสริมการคิด (Thinking Skills) ให้กับเด็กปฐมวัยผ่านการจัดกิจกรรมบูรณาการตามศาสตร์ต่าง ๆ คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ อย่างสมดุลและกลมกลืน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางการดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตของเด็ก
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จัดประสบการณ์และกิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ซึ่งกำหนดสาระการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้จัดกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี สองลักษณะดังนี 1. ประสบการณ์สำคัญ 1.1 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ (กล้ามเนื้อแขน – ขา – ลำตัว) กล้ามเนื้อเล็ก (กล้ามเนื้อมือ – นิ้วมือ) และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท (กล้ามเนื้อมือ – ประสาทตา) ในการทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามจังหวะดนตรี การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส การออกกำลังกายกลางแจ้ง และสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสดูแลสุขภาพและสุขอนามัย สุขนิสัย และการรักษาความปลอดภัย 1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส ได้พัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และความเชื่อมั่นในตนเอง จากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เล่น ฟังนิทาน ท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง และความเชื่อมั่นในตนเองขณะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น 1.3 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคล และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวในชีวิตประจำวัน ได้ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เล่นอย่างอิสระ เล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่น แบ่งปันหรือให้ รู้จักรอคอย ใช้ภาษาบอกความต้องการ ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ 1.4 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคล และสื่อต่างๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อโปรดโอกาสให้เด็กพัฒนาการใช้ภาษา จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การคิดเชิงเหตุผล และการคิดรวบยอด เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัว และมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับสูงขั้นต่อไป
2. สาระที่ควรเรียนรู้ 2.1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้ชื่อ-นามสกุล รูปร่างหน้าตา อวัยวะต่าง ๆ วิธีรักษาร่างกายให้สะอาด และมีสุขภาพอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองจากผู้อื่น และภัยใกล้ตัว รู้ประวัติตนเองและครอบครัว ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีในครอบครัว เคารพสิทธิ์ตนเองและผู้อื่น การแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสม การแสดงมารยาทที่ดี การมีคุณธรรม จริยธรรม 2.2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่าง ๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิด และมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สถานที่สำคัญ อาชีพคนในชุมชน ศาสนา แหลางวัฒนธรรมในชุมชน สัญลักษณ์สำคัญของธงชาติไทย และการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ความเป็นไทยหรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่น ๆ 2.3 เรื่องราวธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักกับดิน น้ำ ท้องฟ้า สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสาธารณสมบัติ 2.4 เรื่องราวสิ่งต่าง ๆรอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน ควรรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาดรูปร่าง รูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆรอบตัว เวลา เงิน ประโยชน์และการใช้งาน การเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การคมนาคม เทคโนโลยี และการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดปลอดภัย และรักษาสิ่งแวดล้อม |
3. การประเมินพัฒนาการเด็ก
การประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติ ที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็ก ต้องนำมาจัดทำข้อมูลหลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบ ด้วยการรวบรวมผลงานสำหรับเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถบอกเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่า เด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด ให้นำข้อมูล ผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพิจารณา ปรับปรุงวางแผนการจัดกิจกรรม และส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
หลักการประเมินพัฒนาการ
1. วางแผนการประเมินอย่างเป็นระบบ
2. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน
3. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา
4. ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริง จากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีที่หลากหลาย(ไม่ควรใช้แบบทดสอบ)
5. สรุปผลการประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก
การเรียนการสอน